วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์

หลักเมืองสุรินทร์
เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทาง ทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร หลักเมืองสุรินทร์นี้เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานาน กว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็น ไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517
-----------------------------------------------------------------
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ อย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 0 ที่ถนน สุรินทร์-ปราสาท เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นใน ของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็น การแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านใน การบังคับช้างศึกและเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์ เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528
-----------------------------------------------------------------
หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) วัดบูรพาราม
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก ประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง อยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัด หลวงพ่อพระชีว์องค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด แต่คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม เป็นที่เคารพบูชา นับถือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของ เมืองสุรินทร์ วัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่าๆ กับอายุเมืองสุรินทร์
สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520
-----------------------------------------------------------------
ห้วยเสนงเป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสายสุรินทร์-ปราสาท(ทางหลวงหมายเลข 214) ประมาณ 5 กม. บริเวณหลักกม.ที่ 5-6 แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ 4 กม. ห้วยเสนงนี้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง สันเขื่อนเป็นถนนราดยาง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์ และภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
-----------------------------------------------------------------
วนอุทยานพนมสวาย
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 22 กม. ถนนราดยางสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ระยะทาง 14 กม. และมีทางแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 6 กม. อยู่ในท้องตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดเขาอยู่ 3 ยอด ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปราะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูน ขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร
ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคม จังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้ว
บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาว จังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล



-----------------------------------------------------------------

ปราสาทเมืองที
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 16 กม. ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ เส้นทางหลวงหมายเลข 226 เลี้ยวขวาเข้าไปในซอยประมาณ 0.5 กม. ปราสาทเมืองทีมีลักษณะเป็นปรางค์ รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมก่อด้วยอิฐถือปูน 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 องค์



-----------------------------------------------------------------
หมู่บ้านทอผ้าไหม บ้านจันรม
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวาสินรินทร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในด้านแหล่งทอผ้าไหมพื้นเมือง และแหล่งผลิต เครื่องประดับเงิน ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายหัตถกรรมทั้ง 2 ประเภท นี้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 214 สาย สุรินทร์-จอมพระ ถึงกม.ที่ 14-15 แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กม. ถัดจากหมู่บ้านเขวาสินรินทร์ไป มีหมู่บ้านชื่อ "บ้านโชค และบ้านสดอ" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องเงิน และทอผ้าไหม นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านจันรมย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของอำเภอเมือง ตามถนนสายสุรินทร์-สังขะ ทางหลวงหมายเลข 2077 ประมาณกม.ที่ 9 ที่หมู่บ้านนี้มีการปลูกหม่อน และเลี้ยงไหมกันเองแล้วนำมาทอเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายและสีแบบ โบราณ และยังเป็นหมู่บ้านที่ทำหัตถกรรมเครื่องจักสานอีกด้วย
-----------------------------------------------------------------
หมู่บ้านจักรสานบุทม
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 (สุรินทร์-ศรีขรภูมิ) ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 14-15 ที่หมู่บ้านนี้มีประชากรทั้งหมดประมาณ 70 หลังคาเรือน ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะมีอาชีพพิเศษด้วยการสานตะกร้าและภาชนะต่างๆ ที่ทำจากหวายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง

พระเดชพระคุณ
พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทโธ) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
พระเทพปริยัติวิธาน (อำนวย จนฺทสโร) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์
พระพิศาลศาสนกิจ (เยื้อน ขันติพโล) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานจาโร
พระศรีวิสุทธิคุณ (พระมหามานพ กนฺตสีโล)ปธ.๙ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
พระประภากรณ์คณาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก พระอุปัชฌาย์ใหญ่
พระสิทธิการโกศล (เทพ นันโท) รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
พระพิมลพัฒนาทร (พวน วรมงฺคโล) เจ้าคณะตำบลคอโค พระเกจิอาจารดัง เจ้าอาวาศวัดมงคลรัตน์
พระมงคลธรรมรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี) พระเกจิอาจารย์ดัง เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน
พระครูปัญญาวุฒิสุนทร เจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เจ้าอาวาศวัดแสงบูรพา
พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงษ์ พรหมปัญโญ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดเพชรบุรี
พระครูเกษมธรรมพิมล เจ้าอาวาสวัดนารายณ์บุรินทร์
พระครูวิสุทธิ์กิติญาณ (คีย์ กิติญาโณ) พระเกจิอาจารย์ดัง วัดศรีลำยอง

บุคคลในประวัติศาสตร์
พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง(เชียงปุม) เจ้าเมืองคนแรก
พระยาสุรินทรภักดีศรีผไทยสมันต์(ม่วง)
หลวงศรีณครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก
พระกรุงศรีบุรีรักษณ์ (สุม สุมานนท์) ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก
พระภักดีพัฒยากรณ์ เจ้าเมืองสนมคนแรก(อำเภอสนม)

นักการเมือง
ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
พิศาล มูลศาสตรสาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ทศพร มูลศาสตรสาทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (บุตรนายพิศาล มูลศาสตรสาธร)
ยรรยง ร่วมพัฒนา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย สมาชิกรัฐสภา
สุริยะ ร่วมพัฒนา เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ศุภรักษ์ ควรหา อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ชูชัย มุ่งเจริญพร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง
ฟารีดา สุไลมาน อดีตรองโฆษกกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นักกีฬา
วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
ฤทธิชัย เกียรติประภัสร์ นักมวยสากลชาวไทย
สิทธิ เจริญฤทธิ์ นักกีฬาเพาะกายทีมชาติไทย
อนุสรณ์ ศรีชาหลวง เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ของสโมสรเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
เดวิด นครหลวงโปรโมชั่น นักมวยสากลชาวไทยรุ่นซูเปอร์ฟลายเวต
บัวขาว ป. ประมุข นักมวยไทยที่มีชื่อเสียง
ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ
บุญมี บุญรอด เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย ในไทยพรีเมียร์ลีก
ร.ต.อ.ปฐม ลิขสิทธิ์ เป็นอดีตนักมวยเหรียญทองซีเกมส์รุ่นไล้ท์ฟลายเวต พ.ศ 2516 เหรียญทองมวยสมัครเล่นชิงแชมป์แห่งเอเชีย พ.ศ.2516 และเหรียญทองมวยทหารโลก พ.ศ.2517
ใช้ชื่อในการชกมวยไทยว่า บีกินน้อย จันทรานนท์ และ ปฐมชัย ว.มงกุฎทอง

ผู้กำกับภาพยนตร์
ศักดิ์ชาย ดีนาน ผู้กำกับภาพยนตร์

นักแสดง
สุรางคณา สุนทรพนาเวช นักแสดง/พิธีกร
คิมเบอร์ลี่ ฮูเวอร์ นักแสดง
ทัชชกร ยีรัมย์ (จา พนม) นักแสดงภาพยนตร์แอ็กชัน/ตัวแสดงแทน
ดาวใจ ถนอมเมือง นักแสดง/นางแบบ
จารุณี บุญเสก นักแสดง/ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์
ปาริชาติ วิงประโคน นักแสดง/นางแบบ

นักร้อง
สุรชัย จันทิมาธร เป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน
พิสิทธิ์พงษ์ กิ่งแก้ว นักร้องเพลงเพื่อชีวิต
เฉลิมพล มาลาคำ นักร้อง นักแต่งเพลงหมอลำที่มีชื่อเสียง หัวหน้าคณะ "เฉลิมพล มาลาคำ"
น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ นักร้องเพลงพื้นบ้านกันตรึม
ดาร์กี้ กันตรึมร็อค นักร้องเพลงกันตรึม สังกัดท็อปไลน์ไดมอน
แก้ว กังสดาล นักแสดง นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเพลง รอพี่ติงนัง
คง มีชัย นักแต่งเพลงภาษเขมร เจ้าของเพลง ลูกเทวดา(ทำนองเขมร) เจ้าของวง ร็อคคงคย สังกัดค่ายไพโรจน์ซาวด์
บ๋อม กังแอน นักร้องเพลงลูกทุ่ง

นักสังคมสงเคราะห์
วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และยังเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับเด็กอีกมากมาย
คุณหญิงมะลิ มูลศาสตร์สาทร ผู้ดูแลโครงการส่วนพระองค์

สื่อมวลชน
เสถียร จันทิมาธร สื่อมวลชนอิสระ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์
อรอุมา เกษตรพืชผล ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรรายการโทรทัศน์
บัญชา ชุมชัยเวทย์ ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรทางช่อง 3

วงดนตรี
ร็อกคงคย
วงโซดาไฟ

สโมสรกีฬาสุรินทร์
สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุรินทร์ (สุรินทร์ เอฟซี)

ค่ายเพลง
ไพโรจน์ซาวด์

สวนสนุก
สวนสนุกเพลแลนด์ (ชั้น 2 สุรินทร์พลาซ่า)

หนังกลางแปลงที่ใหญ่ที่สุดในไทย
นันทวัน ภาพยนตร์ (สำนักงานใหญ่)

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติอำเภอศรีณรงค์

อำเภอศรีณรงค์



คำขวัญประจำอำเภอ

ศรีณรงค์นามองค์เจ้าเมือง ถิ่นรุ่งเรืองไทยส่วย ลำห้วยสองสาย ยิ่งใหญ่บุญร่วมมิตร พืชเศรษฐกิจยางพารา

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอศรีณรงค์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
อำเภอศีขรภูมิ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
อำเภอปรางค์กู่และอำเภอขุขันธ์ (จังหวัดศรีสะเกษ)
ทิศใต้ ติดต่อกับ
อำเภอสังขะ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
อำเภอลำดวนและอำเภอศีขรภูมิ

ประวัติอำเภอศรีณรงค์

ท้องที่อำเภอศรีณรงค์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ
อำเภอสังขะ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอศรีณรงค์ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน

ตำบลณรงค์เป็นถิ่นนักรบที่มีการต่อสู้รณรงค์ ซึ่งแยกมาจากตำบลตรวจ เมื่อ พ.ศ. 2512 นายอ้วน เทียนแก้ว เป็นกำนันคนแรก และมีการเลือกกำนันใหม่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2528 ได้ นายอินทนู ศรีเมฆ เป็นกำนัน คนที่ 2 นายสำราญ ธรรมนาม ปัจจุบันเป็นเวลา 31 ปี ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาส่วย (กวย) นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรี ณรงค์ มี 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านณรงค์ บ้านพระโกฏิ บ้านโสน บ้านเคาะ บ้านละมงค์ บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา บ้านมหาชัย บ้านโสนน้อย บ้านหนองเทพ บ้านอาสอน บ้านสังแก และบ้านศรีณรงค์

สภาพทั่วไปของตำบล

พื้นที่มีลักษณะดินร่วนปนทรายและเป็นพื้นที่ราบสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป พื้นที่ทั้งหมด 119.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 57,300 ไร่

แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอศร๊ณรงค์ คือ 1. หนองน้ำจะมะ 2. ห้วยทับทัน ห้วยเสน

อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีนวล ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,472 คน เป็นชาย 4,738 คน เป็นหญิง 4,734 คน

ข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนยาง ทำไร่อ้อย ทำขนมข้าวเกรียบฟักทอง และผลิตรังไหม ผ้าไหม จำหน่าย


การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอศรีณรงค์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5
ตำบล 62 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ณรงค์(Narong) 12 หมู่บ้าน
2. แจนแวน (Chaenwaen) 11 หมู่บ้าน
3. ตรวจ (Truat) 15 หมู่บ้าน
4. หนองแวง (Nong Waeng) 11 หมู่บ้าน
5. ศรีสุข (Si Suk) 12 หมู่บ้าน


ประวัติของแต่ละตำบลในอำเภอศรีณรงค์

1.ประวัติความเป็นมาของตำบลณรงค์
ตำบลณรงค์เป็นถิ่นนักรบที่มีการต่อสู้รณรงค์ ซึ่งแยกมาจากตำบลตรวจ เมื่อ พ.ศ. 2512 นายอ้วน เทียนแก้ว เป็นกำนันคนแรก และมีการเลือกกำนันใหม่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2528 ได้ นายอินทนู ศรีเมฆ เป็นกำนัน คนที่ 2 นายสำราญ ธรรมนาม ปัจจุบันเป็นเวลา 31 ปี ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาส่วย (กวย) นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรี ณรงค์ มี 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านณรงค์ บ้านพระโกฏิ บ้านโสน บ้านเคาะ บ้านละมงค์ บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา บ้านมหาชัย บ้านโสนน้อย บ้านหนองเทพ บ้านอาสอน บ้านสังแก และบ้านศรีณรงค์
สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่มีลักษณะดินร่วนปนทรายและเป็นพื้นที่ราบสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป พื้นที่ทั้งหมด 119.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 57,300 ไร่
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีนวล ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,472 คน เป็นชาย 4,738 คน เป็นหญิง 4,734 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนยาง ทำไร่อ้อย ทำขนมข้าวเกรียบฟักทอง และผลิตรังไหม ผ้าไหม จำหน่าย
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. ห้วยเสน
เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล ณรงค์ :
ที่อยู่ : องค์การบริหารส่วนตำบลณรงค์ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

2.ประวัติความเป็นมาของตำบลแจนแวน
ตำบลแจนแวนมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกุย หรือส่วย ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรณรงค์ ประกอบไปด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแจนแวน บ้านแดง บ้านเกาะ บ้านพราน บ้านตะโนน บ้านสำโรง บ้านสนวน บ้านพะเนาว์ บ้านเกาะน้อย บ้านสิม และบ้านตะโนน
สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ทั้งหมด 34.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,575 ไร่
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลณรงค์ และตำบลตรวจ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,863 คน เป็น ชาย 4,409 คน เป็นหญิง 4,454 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทอผ้า
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
วัดเทพมงคล บ้านตะโนน หมู่ที่ 5

3.ประวัติความเป็นมาของตำบลตรวจ
มีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่า สมัยก่อน เมื่อนายแดง สังขะเขต นายอำเภอสังขะ ในสมัยนั้น ได้ออกตรวจการ ณ พื้นที่ของบ้านตรวจ (ดุม) ได้พบหนองน้ำหนองหนึ่ง ชื่อหนองตรวจ (หินชนิดหนึ่ง) ต่อมาชาวบ้านก็เรียกกันว่า บ้านตรวจ ต่อมาตำบลตรวจ ก็ได้โอนไปขึ้นต่อตำบลแจนแวน ได้ประมาณ 1 ปี และก็โอนกลับมาเป็นตำบลตรวจเหมือนเดิม จนถึงปัจจุบันนี้
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตำบลตรวจ เป็น 1 ใน 5 ตำบลของกิ่งอำเภอศรีณรงค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย มีลำห้วยไหลผ่านล้อมรอบ จำนวน 2 สาย คือห้วยทับทัน และห้วยเสน มีพื้นที่ 104.19 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,121 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.37 ของกิ่งอำเภอศรีณรงค์ และร้อยละ 1.28 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดสุรินทร์
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกุดหวาย อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข ต.ณรงค์ ต.แจนแวน กิ่ง อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตตำบลแจนแวน เขต อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลผักไหม ต.หนองเหล็ก อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 12,325 คน เป็นชาย 6,296 คน เป็นหญิง 6,029 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัด 12 แห่ง2. สถานีอนามัยตำบลตรวจ3. โรงเรียน 3 แห่ง

4.ประวัติความเป็นมาของตำบลหนองแวง
ตำบลหนองแวง เดิมขึ้นอยู่กับตำบลแจนแวน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมากระทรวงมาหาดไทยได้แบ่งแยกหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลแจนแวนเพิ่มมากขึ้น จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จำนวนหมู่บ้านก็มีเพิ่มขึ้น ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน จึงได้ปรึกษาหารือกัน ขอแยกออกเป็นตำบลหนองแวง และทางราชการให้แยกเป็นตำบลหนองแวง เมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2534 โดยมีหมู่บ้านในเขตการปกครองเริ่มต้นเพียง 8 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านหนองแวง บ้านสำโรง บ้านจารย์ บ้านหนองคู บ้านคูขาด บ้านโนนตลาด บ้านหนองตราด บ้านธาตุทอง บ้านกุง บ้านโนนคำ และบ้านน้อยพัฒนา
สภาพทั่วไปของตำบล :
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบมีป่าโปร่ง สลับทุ่งนา ไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด 45 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกู่ และตำบลดู่ อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพระแก้ว และตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดู่ อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ และตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,755 คน และจำนวนหลังคาเรือน 796 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัดพัฒนาวนาราม บ้านหนองแวง หมู่ที่ 12. โรงเรียนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 13. โรงเรียนบ้านคูขาด หมู่ที่ 54. โรงเรียนบ้านหนองตราด หมู่ที่ 75. โรงเรียนบ้านจารย์ หมู่ที่ 96. สถานีอนามัยตำบลหนองแวง

5.ประวัติความเป็นมาของตำบลศรีสุข
เดิมพื้นที่ตำบลศรีสุข ขึ้นอยู่กับการปกครองของตำบลตรวจ อำเภอสังขะ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2521 ตำบลณรงค์ได้แยกตำบลออกจากตำบลตรวจ ทำให้ตำบลศรีสุขในขณะนั้นเปลี่ยนการปกครองขึ้นอยู่กับตำบลณรงค์ อำเภอสังขะ ในปี พ.ศ.2528 ตำบลศรีสุข ได้แยกตำบลออกจากตำบลณรงค์ แต่ยังขึ้นอยู่กับอำเภอสังขะเช่นเดิม โดยในครั้งนั้นมีหมู่บ้านในเขตปกครองจำนวน 9 หมู่บ้าน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอศรีณรงค์ขึ้นใหม่ ตำบลศรีสุขจึงได้โอนมาขึ้นกับกิ่งอำเภอศรีณรงค์ โดยมีหมู่บ้านในเขตปกครองจำนวน 12 หมู่บ้าน คือ บ้านศรีสุข บ้านหนองเรือ บ้านอ้อมแก้ว บ้านหอก บ้านโนง บ้านกล้วย บ้านโคกอำนวย บ้านพระจันทร์ บ้านลูกควาย บ้านท่าพระ บ้านขยูงทอง บ้านหนองกฐิน
สภาพทั่วไปของตำบล :
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีณรงค์ โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีณรงค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 52 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลศรีสุขมีลักษณะเป็นแบบที่ราบลูกคลื่นลอนตื้นจนถึงที่ราบเรียบ มีลำห้วยทัพทันไหลผ่านกลางตำบล ลักษณะดิน เป็นดินร่วน
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบล ทัพทัน อำเภอสังขะทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลณรงค์ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,183 คน หญิง 4,642 คน หญิง 4,541 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม ทำหัตถกรรมไม้กวาด ทำสวน
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1) ป่ากุดหวาย2) หนองรุง3) หนองเรือ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอศรีณรงค์ประกอบด้วย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลณรงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลณรงค์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแจนแวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจนแวนทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรวจทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุขทั้งตำบล

สถานีอนามัยในสังกัด

1. สถานีอนามัยตำบลณรงค์ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน
2. สถานีอนามัยตำบลแจนแวน จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน
3. สถานีอนามัยตำบลตรวจ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน
4. สถานีอนามัยตำบลหนองแวง จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน
5. สถานีอนามัยตำบลศรีสุข จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน
6. สถานีอนามัยบ้านเกาะตวจ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน


ที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์





ศาลหลักเมืองอำเภอศรีณรงค์





วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวมลฤทัย วุฒิยา
ชื่อเล่น มล
เกิดเมื่อวันเสาร์ ที่ 3 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2530
จบมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียน ศรีณรงค์วิทยาคาร จบมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน สังขะ
ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา

มีพื่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ชื่อ นางสาวสังวาลย์ วุฒิยา เป็นบุตรคนโต และ ดิฉัน
ที่อยู่ 97 ม. 2 ต. ณรงค์ อ. ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ 32150
อาหารที่่ชอบ คือ ส้มตำ แกงส้ม





สีที่ชอบ คือ สีฟ้า สีขาว สีชมพู



สถานที่สุดโปรด คือ ทะเล




กีฬาที่ชื่นชอบ คือ วอลเลย์ บาสเกสบอล
คติประจำใจ คือ ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน