วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติอำเภอศรีณรงค์

อำเภอศรีณรงค์



คำขวัญประจำอำเภอ

ศรีณรงค์นามองค์เจ้าเมือง ถิ่นรุ่งเรืองไทยส่วย ลำห้วยสองสาย ยิ่งใหญ่บุญร่วมมิตร พืชเศรษฐกิจยางพารา

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอศรีณรงค์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
อำเภอศีขรภูมิ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
อำเภอปรางค์กู่และอำเภอขุขันธ์ (จังหวัดศรีสะเกษ)
ทิศใต้ ติดต่อกับ
อำเภอสังขะ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
อำเภอลำดวนและอำเภอศีขรภูมิ

ประวัติอำเภอศรีณรงค์

ท้องที่อำเภอศรีณรงค์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ
อำเภอสังขะ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอศรีณรงค์ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน

ตำบลณรงค์เป็นถิ่นนักรบที่มีการต่อสู้รณรงค์ ซึ่งแยกมาจากตำบลตรวจ เมื่อ พ.ศ. 2512 นายอ้วน เทียนแก้ว เป็นกำนันคนแรก และมีการเลือกกำนันใหม่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2528 ได้ นายอินทนู ศรีเมฆ เป็นกำนัน คนที่ 2 นายสำราญ ธรรมนาม ปัจจุบันเป็นเวลา 31 ปี ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาส่วย (กวย) นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรี ณรงค์ มี 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านณรงค์ บ้านพระโกฏิ บ้านโสน บ้านเคาะ บ้านละมงค์ บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา บ้านมหาชัย บ้านโสนน้อย บ้านหนองเทพ บ้านอาสอน บ้านสังแก และบ้านศรีณรงค์

สภาพทั่วไปของตำบล

พื้นที่มีลักษณะดินร่วนปนทรายและเป็นพื้นที่ราบสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป พื้นที่ทั้งหมด 119.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 57,300 ไร่

แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอศร๊ณรงค์ คือ 1. หนองน้ำจะมะ 2. ห้วยทับทัน ห้วยเสน

อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีนวล ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,472 คน เป็นชาย 4,738 คน เป็นหญิง 4,734 คน

ข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนยาง ทำไร่อ้อย ทำขนมข้าวเกรียบฟักทอง และผลิตรังไหม ผ้าไหม จำหน่าย


การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอศรีณรงค์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5
ตำบล 62 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ณรงค์(Narong) 12 หมู่บ้าน
2. แจนแวน (Chaenwaen) 11 หมู่บ้าน
3. ตรวจ (Truat) 15 หมู่บ้าน
4. หนองแวง (Nong Waeng) 11 หมู่บ้าน
5. ศรีสุข (Si Suk) 12 หมู่บ้าน


ประวัติของแต่ละตำบลในอำเภอศรีณรงค์

1.ประวัติความเป็นมาของตำบลณรงค์
ตำบลณรงค์เป็นถิ่นนักรบที่มีการต่อสู้รณรงค์ ซึ่งแยกมาจากตำบลตรวจ เมื่อ พ.ศ. 2512 นายอ้วน เทียนแก้ว เป็นกำนันคนแรก และมีการเลือกกำนันใหม่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2528 ได้ นายอินทนู ศรีเมฆ เป็นกำนัน คนที่ 2 นายสำราญ ธรรมนาม ปัจจุบันเป็นเวลา 31 ปี ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาส่วย (กวย) นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรี ณรงค์ มี 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านณรงค์ บ้านพระโกฏิ บ้านโสน บ้านเคาะ บ้านละมงค์ บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา บ้านมหาชัย บ้านโสนน้อย บ้านหนองเทพ บ้านอาสอน บ้านสังแก และบ้านศรีณรงค์
สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่มีลักษณะดินร่วนปนทรายและเป็นพื้นที่ราบสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป พื้นที่ทั้งหมด 119.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 57,300 ไร่
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีนวล ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,472 คน เป็นชาย 4,738 คน เป็นหญิง 4,734 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนยาง ทำไร่อ้อย ทำขนมข้าวเกรียบฟักทอง และผลิตรังไหม ผ้าไหม จำหน่าย
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. ห้วยเสน
เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล ณรงค์ :
ที่อยู่ : องค์การบริหารส่วนตำบลณรงค์ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

2.ประวัติความเป็นมาของตำบลแจนแวน
ตำบลแจนแวนมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกุย หรือส่วย ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรณรงค์ ประกอบไปด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแจนแวน บ้านแดง บ้านเกาะ บ้านพราน บ้านตะโนน บ้านสำโรง บ้านสนวน บ้านพะเนาว์ บ้านเกาะน้อย บ้านสิม และบ้านตะโนน
สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ทั้งหมด 34.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,575 ไร่
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลณรงค์ และตำบลตรวจ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,863 คน เป็น ชาย 4,409 คน เป็นหญิง 4,454 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทอผ้า
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
วัดเทพมงคล บ้านตะโนน หมู่ที่ 5

3.ประวัติความเป็นมาของตำบลตรวจ
มีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่า สมัยก่อน เมื่อนายแดง สังขะเขต นายอำเภอสังขะ ในสมัยนั้น ได้ออกตรวจการ ณ พื้นที่ของบ้านตรวจ (ดุม) ได้พบหนองน้ำหนองหนึ่ง ชื่อหนองตรวจ (หินชนิดหนึ่ง) ต่อมาชาวบ้านก็เรียกกันว่า บ้านตรวจ ต่อมาตำบลตรวจ ก็ได้โอนไปขึ้นต่อตำบลแจนแวน ได้ประมาณ 1 ปี และก็โอนกลับมาเป็นตำบลตรวจเหมือนเดิม จนถึงปัจจุบันนี้
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตำบลตรวจ เป็น 1 ใน 5 ตำบลของกิ่งอำเภอศรีณรงค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย มีลำห้วยไหลผ่านล้อมรอบ จำนวน 2 สาย คือห้วยทับทัน และห้วยเสน มีพื้นที่ 104.19 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,121 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.37 ของกิ่งอำเภอศรีณรงค์ และร้อยละ 1.28 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดสุรินทร์
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกุดหวาย อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศรีสุข ต.ณรงค์ ต.แจนแวน กิ่ง อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตตำบลแจนแวน เขต อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลผักไหม ต.หนองเหล็ก อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 12,325 คน เป็นชาย 6,296 คน เป็นหญิง 6,029 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัด 12 แห่ง2. สถานีอนามัยตำบลตรวจ3. โรงเรียน 3 แห่ง

4.ประวัติความเป็นมาของตำบลหนองแวง
ตำบลหนองแวง เดิมขึ้นอยู่กับตำบลแจนแวน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมากระทรวงมาหาดไทยได้แบ่งแยกหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลแจนแวนเพิ่มมากขึ้น จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จำนวนหมู่บ้านก็มีเพิ่มขึ้น ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน จึงได้ปรึกษาหารือกัน ขอแยกออกเป็นตำบลหนองแวง และทางราชการให้แยกเป็นตำบลหนองแวง เมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2534 โดยมีหมู่บ้านในเขตการปกครองเริ่มต้นเพียง 8 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านหนองแวง บ้านสำโรง บ้านจารย์ บ้านหนองคู บ้านคูขาด บ้านโนนตลาด บ้านหนองตราด บ้านธาตุทอง บ้านกุง บ้านโนนคำ และบ้านน้อยพัฒนา
สภาพทั่วไปของตำบล :
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบมีป่าโปร่ง สลับทุ่งนา ไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด 45 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกู่ และตำบลดู่ อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพระแก้ว และตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดู่ อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ และตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,755 คน และจำนวนหลังคาเรือน 796 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัดพัฒนาวนาราม บ้านหนองแวง หมู่ที่ 12. โรงเรียนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 13. โรงเรียนบ้านคูขาด หมู่ที่ 54. โรงเรียนบ้านหนองตราด หมู่ที่ 75. โรงเรียนบ้านจารย์ หมู่ที่ 96. สถานีอนามัยตำบลหนองแวง

5.ประวัติความเป็นมาของตำบลศรีสุข
เดิมพื้นที่ตำบลศรีสุข ขึ้นอยู่กับการปกครองของตำบลตรวจ อำเภอสังขะ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2521 ตำบลณรงค์ได้แยกตำบลออกจากตำบลตรวจ ทำให้ตำบลศรีสุขในขณะนั้นเปลี่ยนการปกครองขึ้นอยู่กับตำบลณรงค์ อำเภอสังขะ ในปี พ.ศ.2528 ตำบลศรีสุข ได้แยกตำบลออกจากตำบลณรงค์ แต่ยังขึ้นอยู่กับอำเภอสังขะเช่นเดิม โดยในครั้งนั้นมีหมู่บ้านในเขตปกครองจำนวน 9 หมู่บ้าน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอศรีณรงค์ขึ้นใหม่ ตำบลศรีสุขจึงได้โอนมาขึ้นกับกิ่งอำเภอศรีณรงค์ โดยมีหมู่บ้านในเขตปกครองจำนวน 12 หมู่บ้าน คือ บ้านศรีสุข บ้านหนองเรือ บ้านอ้อมแก้ว บ้านหอก บ้านโนง บ้านกล้วย บ้านโคกอำนวย บ้านพระจันทร์ บ้านลูกควาย บ้านท่าพระ บ้านขยูงทอง บ้านหนองกฐิน
สภาพทั่วไปของตำบล :
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีณรงค์ โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีณรงค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 52 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลศรีสุขมีลักษณะเป็นแบบที่ราบลูกคลื่นลอนตื้นจนถึงที่ราบเรียบ มีลำห้วยทัพทันไหลผ่านกลางตำบล ลักษณะดิน เป็นดินร่วน
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตรวจทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบล ทัพทัน อำเภอสังขะทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลณรงค์ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,183 คน หญิง 4,642 คน หญิง 4,541 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม ทำหัตถกรรมไม้กวาด ทำสวน
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1) ป่ากุดหวาย2) หนองรุง3) หนองเรือ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอศรีณรงค์ประกอบด้วย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลณรงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลณรงค์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแจนแวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจนแวนทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรวจทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุขทั้งตำบล

สถานีอนามัยในสังกัด

1. สถานีอนามัยตำบลณรงค์ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน
2. สถานีอนามัยตำบลแจนแวน จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน
3. สถานีอนามัยตำบลตรวจ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน
4. สถานีอนามัยตำบลหนองแวง จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน
5. สถานีอนามัยตำบลศรีสุข จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน
6. สถานีอนามัยบ้านเกาะตวจ จำนวนพื้นที่รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน


ที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์





ศาลหลักเมืองอำเภอศรีณรงค์